คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

รหัส                                   คำอธิบายรายวิชา                                                          น(ท-ป-ศ)

GED1001                       สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า                                   3(3-0-6)                                                                                                 Information Study Skill

ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ทักษะการรับรู้สารสนเทศ การสืบค้น การรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศเพื่อนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิงจริยธรรมในการใช้สารสนเทศ ตลอดจนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

GED1002                       ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร                                               3(3-0-6)
                                          Thai  for Communication

ศึกษาภาษาไทยในฐานะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารโดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการปฏิบัติ การฟัง การพูด  การอ่านและการเขียน  ศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์จากการอ่าน  การฟังสารต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสามารถนำเสนอความรู้ที่ได้ตามขั้นตอนและรูปแบบของการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูด

GED1003                 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน                                                            3(3-0-6)

                                    English Basics

พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน  สามารถฟังและเข้าใจข้อความหรือบทสนทนาได้ โดยใช้กลยุทธ์การฟังที่เหมาะสม เน้นความสามารถในการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสาร สามารถพูดบทสนทนาในชีวิตประจำวัน ใช้ภาษาอังกฤษในชั้นเรียน และใช้ภาษาอังกฤษในการเล่าเรื่องและอธิบายเรื่องราวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถอ่านและวิเคราะห์โครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนได้ สามารถใช้กลยุทธ์การอ่านที่เหมาะสมในการทำความเข้าใจเนื้อเรื่องและการสรุปใจความสำคัญ  สามารถเขียนข้อความสั้นๆ และสามารถใช้พจนานุกรมประกอบการเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

GED1004                 ภาษาอังกฤษเพื่อการประยุกต์ใช้                                         3(3-0-6)

                                    English  for Application

เรียนรู้กลวิธีในการใช้ทักษะทั้ง 4 ด้านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการเรียนรู้วิชาการในศาสตร์ของตน การสมัครงานและการทำงานในองค์การ ด้านการอ่านเน้นการสรุปความ การวิเคราะห์และตีความจากสิ่งที่อ่าน ด้านการเขียนเน้นการเขียนความเรียงทางวิชาการ โดยใช้ข้อมูลจากการค้นคว้าจากแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ด้านการฟังเน้นการสรุปความ และแปลความหมายจากสิ่งที่ได้รับฟัง ด้านการพูดเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสาขาวิชาและการพูดโดยฉับพลันในชีวิตประจำวันได้

  1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

GED2001                  พุทธทาสศึกษา                                                                     3(3-0-6)                                       

                                     Buddhadasa Studies                  

ศึกษาคำสอน วิธีคิด และกระบวนการเรียนรู้ของท่านพุทธทาส ปณิธาน 3 ประการในการให้ ศาสนิกชนเข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งซึ่งเป็นที่สุดแห่งศาสนาของตน การทำความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา การนำเพื่อนมนุษย์ให้ออกเสียจากวัตถุนิยม การประยุกต์คำสอน และวิธีปฏิบัติตามทางของท่านพุทธทาสสู่การดำรงชีวิตที่สมถะ เรียบง่าย และพอเพียง

GED2002                 ปรัชญากับชีวิต                                                                      3(3-0-6)

                                    Philosophy and Life

แนวคิดเกี่ยวกับปรัชญาและกลุ่มลัทธิปรัชญา แนวทางในการดำเนินชีวิตและทำงานตามแนวปรัชญาและศาสนา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม จัดกิจกรรมการเรียนรู้การบูรณาการทฤษฎีเพื่อพัฒนาตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

GED2003                 การพัฒนาตน                                                                         3(3-0-6)

                                     Self Development 

พฤติกรรมมนุษย์ สาเหตุปัจจัยแห่งพฤติกรรมมนุษย์ ทฤษฎีทางจิตวิทยาเพื่อการวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์ตนเองเพื่อการพัฒนาตนทั้งด้านร่างกาย จิตใจและทักษะชีวิต การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การแก้ปัญหาภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนร่วม การประเมินผลการพัฒนาตนเองเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

GED2004                สุนทรียศาสตร์                                                                         3(3-0-6)           

                                    Aesthetics                                            

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคุณค่า และความงามท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม การรับรู้คุณค่าและการสัมผัสความงามและการแสดงออกทางอารมณ์ของมนุษย์ รับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าและความงามในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ เช่น ความงามในด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ตลอดจนความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์

  1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

GED3001                 วิถีโลก                                                                                      3(3-0-6)

                                     Global  Society  and  Living

การดำรงอยู่ของมนุษย์ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงโลก สถานการณ์ด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงโลกที่ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกและประเทศไทย การปรับตัวของประเทศไทยในการเป็นประชาคมโลกและประชาคมอาเซียน

GED3002                 วิถีไทย                                                                                     3(3-0-6)

                                     Thai  Living

โครงสร้างและวิวัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมไทย  การรักษาเสถียรภาพเอกลักษณ์ของสังคมไทย  ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม การรับรู้สิทธิหน้าที่ของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

GED3003                 กฎหมายกับสังคม                                                                  3(3-0-6)

                                     Law and Society

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ชีวิตและสังคม สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลตามกฎหมาย พื้นฐานความรับผิดชอบในทางแพ่งและในทางอาญา กระบวนการยุติธรรมของไทยตามประมวลกฎหมาย และวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตและสังคม เช่น กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน เป็นต้น

  1. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

GED4001                 วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต                                                3(3-0-6)

                                    Science for  Quality  of  Life

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาสาเหตุ ผลกระทบ แนวทางการแก้ไขสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเศน์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการดูแลตนเองตามสุขอนามัย ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สภาพแวดล้อม สังคม การเมือง และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

GED4002                 การคิดและการตัดสินใจ                                                         3(3-0-6)

                                     Thinking and Decision Making

หลักการ คุณค่าของการคิด ที่มาและธรรมชาติของการคิด การพัฒนาทักษะการคิดแบบต่างๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิเคราะห์และการใช้เหตุผล การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น เทคนิควิธีและเครื่องมือในการคิดและการตัดสินใจ การสื่อสารความคิดสู่บุคคลอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ

GED4003                 คอมพิวเตอร์กับชีวิต                                                                3(2-2-5)

                                     Computer  and  Life

บทบาท ความสำคัญของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตและสังคม ปฏิบัติการและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการแสวงหาความรู้และสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้สารสนเทศ โดยคำนึงถึงจริยธรรม

หมวดวิชาเฉพาะด้าน

  1. กลุ่มวิชาบังคับ

PAI0101                วาดเส้น 1                                                               3(2-2-5)

                                 Drawing 1

ศึกษาและปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิคต่างๆของงานวาดเส้น ในการเขียนภาพหุ่นนิ่งโดยเน้นความถูกต้องเหมือนจริง

PAI0102                จิตรกรรม 1                                                             3(2-2-5)

                                 Painting 1

ศึกษาและปฏิบัติการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิคการใช้สีน้ำ ในเชิงของการทดลอง และวิเคราะห์ การใช้สีน้ำในลักษณะต่างๆ ในการสื่อสารรูปแบบ และเนื้อหาในงานจิตรกรรม

PAI0103                องค์ประกอบศิลป์ 1                                                     3(2-2-5)

                                 Art Composition 1

ศึกษาและปฏิบัติการจัดองค์ประกอบของภาพประกอบด้วย เส้น รูปร่าง รูปทรง  ที่ว่าง ความกลมกลืน น้ำหนักแสงเงา ขนาด พื้นผิว  และความสมดุล

PAI0104                วาดเส้น 2                                                               3(2-2-5)

                                  Drawing 2

ศึกษาและปฏิบัติงานวาดเส้น เพื่อการเขียนภาพทิวทัศน์โดยคำนึงถึง น้ำหนักแสงเงา ระยะ เทคนิค ความสมดุล และความเหมือนจริงของภาพ

PAI0105                จิตรกรรม 2                                                             3(2-2-5)

                                 Painting 2

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีน้ำเพื่อการเขียนภาพหุ่นนิ่ง โดยคำนึงถึงการร่างภาพ การวางแผน รูปทรง พื้นผิว น้ำหนักแสงเงา ระยะ เทคนิค ความสมดุล และภาพเหมือนจริงของภาพ

PAI0106                องค์ประกอบศิลป์ 2                                                     3(2-2-5)

                                 Art Composition 2

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีในงานจิตรกรรม วิเคราะห์ทฤษฎีสี การใช้สีเพื่อแสดงความหมาย  ความแตกต่างชนิดของสี  สีกับการถ่ายทอด เนื้อหา  รูปแบบ เทคนิค น้ำหนักแสงเงา  ขนาด และระยะของภาพ

PAI0107               วาดเส้น 3                                                               3(2-2-5)

                                 Drawing 3

ศึกษาและปฏิบัติงานวาดเส้นในการเขียนภาพคนครึ่งตัว ภาพคนเต็มตัว โดยคำนึงถึงการร่างภาพ น้ำหนัก แสงเงา เทคนิคและความเหมือนจริงของภาพ

PAI0108                จิตรกรรม 3                                                             3(2-2-5)

                                  Painting 3

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีน้ำ เพื่อการเขียนภาพทิวทัศน์โดยคำนึงถึงการร่างภาพ การวางแผน  พื้นผิว น้ำหนักแสงเงา ระยะ  เทคนิค ความสมดุล  และความเหมือนจริงของภาพ

PAI0109                ประวัติศาสตร์ศิลป์                                                      3(3-0-6)

                                 History  of Art

ศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์ ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ศิลป์ยุคดึกดำบรรพ์  ยุคโบราณ ยุคกลาง  ยุคใหม่  และยุคหลังสมัยใหม่  และวิเคราะห์บริบทเกี่ยวข้องกับรูปแบบ เนื้อหา วัสดุ และกลวิธีทางศิลปะในยุคต่างๆ

PAI0110                วาดเส้น 4                                                               3(2-2-5)

                                 Drawing 4

ศึกษาและปฏิบัติงานวาดเส้นในการเขียนภาพ ตามหัวหัวข้อที่กำหนดให้โดยคำนึงถึง องค์ประกอบทางศิลปะและการสร้างสรรค์เทคนิคใหม่ๆที่ก่อให้เกิดจินตนาการ และนำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะตามลักษณะเฉพาะบุคคล

PAI0111                จิตรกรรม 4                                                             3(2-2-5)

                                Painting  4

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีน้ำ เพื่อการเขียนภาพ โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหา และเป้าหมายการแสดงออกที่แตกต่างจากภาพเหมือนจริง โดยใช้เทคนิคใหม่ๆ และคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติของสีน้ำ

PAI0112                สุนทรียศาสตร์ในงานจิตรกรรม                                        3(3-0-6)

                                 Aesthetic in Painting

ศึกษาเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ในงานจิตรกรรม ประกอบด้วย ประวัติของสุนทรียศาสตร์ การให้ความหมาย คุณค่า ข้อถกเถียง การให้เหตุผลทางสุนทรียศาสตร์ และบริบทแวดล้อมของการให้ความหมายทางสุนทรียศาสตร์

PAI0113                จิตรกรรม 5                                                             3(2-2-5)

                                 Painting 5

ศึกษาและปฏิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิคสีน้ำมัน ในเชิงของการทดลอง และวิเคราะห์ การใช้สีน้ำมันในลักษณะต่างๆ ในการสื่อสารรูปแบบ และเนื้อหาในงานจิตรกรรม

PAI0114                ปรัชญาศิลปะ                                                           3(3-0-6)

                                Philosophy of  Art                                                 

ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาศิลปะ ประกอบด้วย  ประวัติศาสตร์ปรัชญาศิลปะ  ทฤษฎีปรัชญาศิลปะ  การให้ความหมาย  การให้เหตุผล  เป้าหมาย  ความแตกต่าง  คุณค่า และประโยชน์ของปรัชญาศิลปะ

PAI0115                จิตรกรรม 6                                                             3(2-2-5)

                                 Painting 6

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีน้ำมัน เพื่อการเขียนหุ่นนิ่งโดยคำนึงถึง  การร่างภาพการวางแผน รูปทรง พื้นผิว   น้ำหนักแสงเงา  ระยะ เทคนิค  ความสมดุล  และความเหมือนจริงของภาพ

PAI0116                การวิจารณ์งานจิตรกรรม                                              3(3-0-6)

                                Painting Critique

ศึกษาเกี่ยวกับการวิจารณ์งานจิตรกรรม ประกอบด้วย  หลักการวิจารณ์  การให้เหตุผลการประเมินคุณค่า  การเผยแพร่ผลการวิจารณ์  การเป็นผู้วิจารณ์ที่ดี  และการพัฒนาตนเองของผู้รับฟังการวิจารณ์

PAI0117                ปรัชญาศิลปะในทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ                        3(3-0-6)

                                Philosophy of Art in Buddhadasa Bhikkhu’s Points of View.

ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาศิลปะของท่านพุทธทาสภิกขุ  ประกอบด้วย การตีความพุทธศาสนา  การให้ความหมายของศิลปะ  เป้าหมายของศิลปะ  ลักษณะของศิลปะที่แท้จริงตามทัศนะของท่านพุทธทาสภิกขุ  และความแตกต่างกับปรัชญาศิลปะแบบอื่นๆ

PAI0118                จิตรกรรมสื่อสร้างสรรค์ 1                                              3(2-2-5)

                                  Creative Painting 1

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมสื่อสร้างสรรค์  ประกอบด้วย การทดลองสร้างสรรค์งานจิตรกรรมบนวัสดุ 2 มิติ  และใช้วัสดุอื่นๆ ในการทำให้พื้นผิวของภาพมีลักษณะเป็น3 มิติ และทำการทดลองเทคนิคใหม่ๆ ทางจิตรกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการแสดงออกและนำเสนอผลการทดลองอย่างเป็นระบบ

PAI0119                พื้นฐานการวิจัยทางจิตรกรรม                                         3(2-2-5)

                                Basic Research in Painting

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับพื้นฐานการวิจัยทางจิตรกรรม โดยวิเคราะห์ กระบวนการวิจัยทางจิตรกรรม การกำหนดชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ การทบทวนเอกสาร ระเบียบ วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย

PAI0120                ศิลปนิพนธ์                                                                4(2-4-6)

                                  Special Art Project

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำศิลปนิพนธ์  ประกอบด้วย  การวิเคราะห์กระบวนการจัดทำศิลปนิพนธ์ทางจิตรกรรม  การกำหนดชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ การทบทวนเอกสาร  ระเบียบวิธีการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานผลการศึกษา และการเผยแพร่ศิลปนิพนธ์

  1. กลุ่มวิชาเลือก

PAI0201                ศิลปะในชีวิตประจำวัน                                                 3(2-2-5)

                                  Functional Art

ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบ ประเภท องค์ประกอบทางศิลปะ ความสำคัญของศิลปะที่มีอยู่รอบตัว และสามารถนำศิลปะมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

PAI0202                ศิลปะไทย                                                                3(2-2-5)

                                  Thai Art

ศึกษาความหมายของศิลปะไทย ที่มาของลายไทย รวมถึงศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะของผลงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี จิตรกรรมไทยแนวประเพณี และจิตรกรรมไทยร่วมสมัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะไทยในระดับสูงต่อไป

PAI0203                การถ่ายภาพ                                                            3(2-2-5)

                                  Photography

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ เทคนิค กลวิธีที่เกี่ยวข้องในกระบวนการถ่ายภาพ กลไกการทำงานของกล้องถ่ายภาพแบบต่างๆ และสามารถถ่ายภาพเพื่อการสื่อสารความคิดในลักษณะต่างๆ ได้

PAI0204                คอมพิวเตอร์เพื่องานศิลปะ 1                                          3(2-2-5)

                                  Computer for Art 1

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ กลไกการทำงานของคอมพิวเตอร์ และสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ และสื่อสารความคิดทางศิลปะในลักษณะต่างๆ ได้

PAI0205                คอมพิวเตอร์เพื่องานศิลปะ 2                                          3(2-2-5)

                                 Computer for Art 2

ศึกษาและปฏิบัติ เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการสร้างงาน 2 มิติ และ 3 มิติ และประยุกต์ใช้กับทฤษฏีองค์ประกอบศิลป์ เพื่อการออกแบบและสื่อสารความคิดทางศิลปะในลักษณะต่างๆ ได้

PAI0206                ภาพพิมพ์ 1                                                             3(2-2-5)

                                  Print 1

ศึกษาความเป็นมาของภาพพิมพ์ ประเภท รูปแบบ กรรมวิธี คุณสมบัติของการทำงาน การเก็บรักษาเน้นพื้นฐานของการพิมพ์ทั่วไป และปฏิบัติการพิมพ์เบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจคุณลักษณะทั่วไปของภาพพิมพ์

PAI0207                ภาพพิมพ์ 2                                                             3(2-2-5)

                                  Print 2

ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับเทคนิคศิลปะภาพพิมพ์เบื้องต้น  ประเภทต่างๆ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์แต่ละประเภท

PAI0208                ประติมากรรม 1                                                        3(2-2-5)                           

                                  Sculpture 1

ศึกษาประวัติความเป็นมาของประติมากรรมทั้งของตะวันตกและของตะวันออกความเชื่อและอิทธิพลของสิ่งต่างๆ ที่มีต่อการสร้างผลงานประติมากรรม และทดลองฝึกปฏิบัติงานประติมากรรมเบื้องต้น ด้วยเครื่องมือและวัสดุต่างๆ

PAI0209                ประติมากรรม 2                                                        3(2-2-5)

                                  Sculpture 2

กรรมวิธีของงานประติมากรรมโดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ เทคนิควิธีการในการปฏิบัติงาน เน้นความรู้เกี่ยวกับประติมากรรมเบื้องต้น ลักษณะและ คุณค่าของวัสดุแต่ละชนิดที่นำมาสร้างงานงานประติมากรรม

PAI0210                องค์ประกอบศิลป์ 3                                                     3(2-2-5)

                                 Art Composition 3

ศึกษาและปฏิบัติการทดลองใช้วัสดุ รูปแบบ เนื้อหา และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อการสื่อความหมายในงานจิตรกรรม ตามหลักองค์ประกอบศิลป์

PAI0211                ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น                                           3(3-0-6)

                                 Local  Culture  and  Art                                              

ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น  ประกอบด้วย  ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น บริบทท้องถิ่น  ลักษณะของศิลปะและวัฒนธรรมกับวิถีชีวิต  คุณค่า ประเภทการใช้ประโยชน์  และการเปลี่ยนแปลงของศิลปะ และวัฒนธรรมท้องถิ่น

PAI0212                จิตรกรรมเชิงศาสนา                                                    3(2-2-5)                           

                                 Religious Painting

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมเชิงศาสนา ประกอบด้วย ประวัติศาสตร์จิตรกรรมเชิงศาสนา  จิตรกรรมกับหลักธรรมทางศาสนา  เป้าหมายของการสื่อสาร รูปแบบ เนื้อหา เทคนิค วัสดุ องค์ประกอบศิลป์ และศึกษาหลักธรรมของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง และแสดงออกตามความเข้าใจของตนเองผ่านผลงานจิตรกรรม

PAI0213                จิตรกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม                                              3(2-2-5)                           

                                 Environmental Painting                                                      

ศึกษาและปฏิบัติ เกี่ยวกับจิตรกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ประวัติจิตรกรรมที่แสดงออกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รูปแบบ เนื้อหา วัสดุ เทคนิค องค์ประกอบศิลป์ และศึกษาปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และนำเสนอความคิดผ่านผลงานจิตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

PAI0214                ทฤษฎีจิตรกรรมตะวันตก                                              3(3-0-6)

                                 Theory in Western Painting

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีจิตรกรรมตะวันตกประกอบด้วย ประวัติศาสตร์จิตรกรรมตะวันตก  รูปแบบ เนื้อหา  วัสดุ  เทคนิค  องค์ประกอบศิลป์  และวิเคราะห์บริบทของสังคมในช่วงต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการแสดงออกทางจิตรกรรม

PAI0215                ทฤษฎีจิตรกรรมตะวันออก                                             3(3-0-6)

                                 Theory in Eastern Painting

ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีจิตรกรรมตะวันออกประกอบด้วยประวัติศาสตร์จิตรกรรมตะวันออก  รูปแบบ เนื้อหา  วัสดุ  เทคนิค  องค์ประกอบศิลป์  และวิเคราะห์บริบทของสังคมในช่วงต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการแสดงออกทางจิตรกรรม

PAI0216                จิตรกรรมเพื่อสังคม                                                     3(2-2-5)

                                 Social Painting

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมเพื่อสังคม ประกอบด้วย ประวัติจิตรกรรมที่แสดงออกเกี่ยวกับสภาพสังคม รูปแบบ เนื้อหา เทคนิค วัสดุ องค์ประกอบศิลป์ และศึกษาปัญหาสังคมเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  และนำเสนอความคิดผ่านผลงานจิตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

PAI0217                จิตรกรรมร่วมสมัย                                                      3(2-2-5)

                                 Contemporary Painting

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมร่วมสมัย โดยพิจารณา รูปแบบ เนื้อหา  วัสดุ เทคนิค องค์ประกอบศิลป์ การแสดงออกทางจิตรกรรมในปัจจุบัน และวิเคราะห์ตีความลักษณะผลงานจิตรกรรมในแง่มุมต่างๆ และสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยตามทัศนะของตนเอง

PAI0218                จิตรกรรม 7                                                             3(2-2-5)

                                  Painting 7

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีน้ำมัน เพื่อการเขียนภาพทิวทัศน์โดยคำนึงถึงการร่างภาพการวางแผน รูปทรง  พื้นผิว  น้ำหนักแสงเงา  ระยะ  เทคนิค  ความสมดุล  และความเหมือนจริงของภาพ

PAI0219                จิตรกรรม 8                                                             3(2-2-5)

                                  Painting 8

ศึกษาและปฏิบัติการใช้สีน้ำมัน และเทคนิคอื่นๆ โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหา และเป้าหมายการแสดงออกที่แตกต่างจากภาพเหมือนจริง โดยคำนึงถึงความชำนาญเฉพาะบุคคล

PAI0220                จิตรกรรมสื่อสร้างสรรค์ 2                                              3(2-2-5)

                                   Creative Painting 2

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับจิตรกรรมสื่อสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการทดลองสร้างสรรค์จิตรกรรมบนวัสดุ 3 มิติ และทำการทดลองเทคนิคใหม่ๆ ทางจิตรกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการแสดงออก และนำเสนอผลการทดลองอย่างเป็นระบบ

PAI0221                การจัดนิทรรศการศิลปะ                                                3(2-2-5)

                                Art Exhibition Management                                             

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการศิลปะ ประกอบด้วย  การกำหนดเป้าหมาย การเขียนโครงการ การวางแผนดำเนินการ การบริหารบุคคล สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์  งบประมาณ การกำหนดกลุ่มผู้ชม และการประเมินผลดำเนินงาน

PAI0222                การสัมมนาทางศิลปะ                                                   3(2-2-5)

                                  Art Seminar

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการจัดสัมมนาทางศิลปะ เพื่อนำเสนอความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอความคิดทางวิชาการ โดยมีการนำเสนอโครงการ การวางแผน กำหนดเนื้อหา  วัตถุประสงค์  สถานที่ ผู้อภิปราย กลุ่มผู้ฟัง งบประมาณ และการประเมินผลการสัมมนา